โควิด19

“ธรรมนูญสุขภาพ เครื่องมือหน้าหมู่สู้ภัยโควิด-19 ของชาวห้วยไคร้"

ชาวตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ใช้ “ธรรมนูญสุขภาพตำบลห้วยไคร้ พ.ศ. 2562:
คุณภาพชีวิตดี 9 วิถีพอเพียง” เป็นหลักนำสร้างชุมชนเข้มแข็ง ร่วมคิดร่วมทำนำสู่คุณภาพชีวิตที่ดี
และต่อยอดปรับประยุกต์เป็นมาตรการทางสังคม เพื่อรวมพลังพลเมืองตื่นรู้สู้ภัยโควิด-19

‘สุพรรณบุรี’ ชู “ธรรมนูญสุขภาพ” สู้โควิด-19

“เราก็ไปดูว่าที่ประกาศใช้กันแล้ว มีมาตรการไหนที่จะหยิบมาสักหนึ่งประเด็น มาส่งเสริมสุขภาวะชุมชนเข้มแข็ง แต่ละแห่งก็มีจุดเน้นต่างกัน เช่น ส่งเสริมความเข้มแข็งของผู้สูงอายุ ส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้วยศิลปะท้องถิ่น การจัดการขยะครบวงจร การปลูกผักปลอดสารพิษ เป็นต้น และที่กำลังขยับกันอยู่คือ แผนเฝ้าระวังรับมือกับโควิด-19 สร้างพื้นที่นำร่อง 10 ตำบล เพื่อให้มาทบทวนธรรมนูญสุขภาพตำบลแล้วเพิ่มเติมเรื่องการรับมือโควิด-19 รวมถึงนำมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติปี 2552 เรื่องโรคอุบัติใหม่มาประกอบใช้ เพราะเหมาะกับสถานการณ์ในปัจจุบันอย่างยิ่ง มีกระทั่งการควบคุมการเลี้ยงสัตว์ การบริโภคสัตว์ป่า”

"ปิ่นโตตุ้มตุ้ย" ภารกิจไม่ทอดทิ้งกันของคนบ่อยาง

ศูนย์บ่อยางพึ่งพาตนเอง อำเภอเมืองสงขลา ใช้ภารกิจ “ปิ่นโตตุ้มตุ้ย” เป็นสื่อประสานให้คนในชุมชนไม่ทอดทิ้งกัน ทั้งในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ต้องแก้ปัญหาเร่งด่วนคือการขาดแคลนอาหารในกลุ่มที่ว่างงานและเปราะบาง และยังวางแผนระยะยาวเกื้อกูลกันทั้งตำบลอย่างยั่งยืนต่อไป

‘โคกจาน’ พลังท้องถิ่นร่วมฟื้นฟู-สู้ภัยโควิด-19

“เรา (ท้องถิ่น) ถือเป็นหน่วยงานที่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุดหน่วยหนึ่ง ตาม พ.ร.บ.เทศบาลในมาตรา 50 เองก็กำหนดหน้าที่ของเทศบาลไว้ในหลายด้าน หนึ่งในนั้นคือ การป้องกันและระงับโรคติดต่อ เราจึงมีหน้าที่ต้องดูแลประชาชน ทำยังไงให้เขาห่างไกลจากโควิด-19”

“ชุมชนหนองพลวง เตรียมการฟื้นฟู หลังใช้ธรรมนูญฯสู้โควิด-19”

คนหนองพลวง อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา ต่อยอดขยายผลจากธรรมนูญสุขภาพตำบลที่มี สร้าง 3 มาตรการสำคัญสู้ภัยโควิด-19 ทั้งเฝ้าระวัง ป้องกัน และจัดการข่าวลือ พร้อมเตรียมการฟื้นฟูหลังสิ้นสุดการแพร่ระบาดของโรค เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีสู่หนองพลวงอุดมสุข

“ชาวโยธะกา เปลี่ยนตระหนกเป็นตระหนัก ปันน้ำใจสู้ภัยโควิด-19”

ชุมชนโยธะกา บางน้ำเปรี้ยว ฉะเชิงเทรา เปลี่ยนความตระหนกเป็นความตระหนักสู้ภัยโควิด-19 ด้วย 3 ขั้นตอน ตั้งทีมข่าวกรองและสื่อสารความรู้ เฝ้าระวังและป้องกันโรค พร้อมทั้งประกาศใช้ธรรมนูญสุขภาพตำบล ร่วมมือร่วมใจป้องกัน ควบคุมโรค ฟื้นฟู เยียวยาโดยไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง

บ้านนี้มีรัก ปลูกผักแบ่งปัน ของชาวโก่งธนู

คนตำบลโก่งธนู อำเภอเมืองลพบุรี น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ต่อยอดรูปธรรมการขับเคลื่อนตำบลเข้มแข็ง เตรียมพร้อมความมั่นคงทางอาหารในสถานการณ์โรคระบาด ปรับจาก “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” สู่ “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักแบ่งปัน” อิ่มท้องพร้อมอิ่มใจ ไร้โควิด-19 ทั้งตำบล

ประชาสังคมสงขลาเชื่อมเทคโนโลยี-ธรรมนูญสุขภาพ สู้ภัยโควิด-19

ภาคประชาสังคมสงขลาจับมือหน่วยงานรัฐสู้ภัยโควิด-19 ผ่านกระบวนการหลากหลาย ทั้งธรรมนูญสุขภาพ การแลกเปลี่ยนแนวคิด การสร้างฐานข้อมูลเพื่อดูแลประชาชนเปราะบางในพื้นที่ เชื่อจะเป็นโอกาสสำคัญในการปรับตัวเพื่อถักทอเครือข่ายและพัฒนาพื้นที่

สุราษฎร์ธานี ใช้กลยุทธ์ 3 มี 3 ระยะ สู้โควิด-19

สมัชชาสุขภาพจังหวัดสุราษฎร์ธานี รวมพลังทุกภาคส่วนกำหนดเป้าหมายร่วม สร้างพื้นที่ปลอดโรคและอาหารบริโภคปลอดภัย ผ่าน “ข้อตกลงร่วมรวมพลังพลเมืองตื่นรู้ ช่วยชาติ สู้ภัยโควิด -19”
ขับเคลื่อนด้วยกลยุทธ์ “3 มี 3 ระยะ” ไร้โควิด-19 ทั้งจังหวัด

ชาวโคกจาน รวมพลังพลเมืองตื่นรู้ฯ สู่ธรรมนูญตำบลฯ โควิด-19

ชาวเทศบาลตำบลโคกจาน อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ รวมพลังแกนนำทั้งตำบล จัดทำและประกาศใช้ธรรมนูญสุขภาพตำบลป้องกันควบคุมและแก้ไขปัญหาโรคไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
โดยใช้แนวทางตามแผนงานรวมพลังพลเมืองตื่นรู้ ช่วยชาติสู้ภัยโควิด-19 เป็นแห่งแรกของประเทศ