Covid-19

สช. จับมือภาคี ดันธรรมนูญสงฆ์ หนึ่งในต้นแบบสู้ภัยโควิด19

   สช.ร่วมกับภาคีเครือข่าย เตรียมจัดเวที ‘รวมพลังพลเมืองตื่นรู้ ช่วยชาติกู้ภัยโควิด19: ธรรมนูญสงฆ์ รวมพลังบวร สู้วิกฤตโควิด19’ สื่อสารกับพระสงฆ์และเครือข่ายทั่วประเทศ สานพลังพระสงฆ์-ชุมชน-ภาคประชาสังคม-ภาครัฐ ในวันที่ 28 เม.ย.นี้

‘นครสวรรค์’ ดัน ‘ธรรมนูญสุขภาพ’ สู้ภัยโควิด19

ชาวบ้านนครสวรรค์ 10 กว่าตำบล ร่วมพูดคุยจัดทำธรรมนูญสุขภาพในพื้นที่ วางกติกาการอยู่ร่วมกัน การป้องกัน และการช่วยเหลือกันในช่วงการระบาดของโควิด19 ขณะที่ สมัชชาสุขภาพจังหวัดเตรียมวางแผนรับมือด้านเศรษฐกิจชุมชน หลังสถานการณ์คลี่คลาย

“ธรรมนูญสุขภาพตำบล” มาตรการสังคม ช่วยชุมชนสู้ภัยโควิด19

   นพ.นิรันดร์ ระบุเครื่องมือทางกฎหมายอย่างเดียวไม่เพียงพอสู้ภัยโควิด19 ต้องมีมาตรการทางสังคมเข้าหนุนเสริม ชี้ ‘ธรรมนูญสุขภาพตำบล’ เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่จะทำให้การทำงานระดับพื้นที่เกิดการ บูรณาการ เชื่อว่าไทยจะผ่านวิกฤตนี้ไปได้
 
   ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด19 สะสมในประเทศล่าสุด วันที่ 2 เมษายน 2563 อยู่ที่ 1,875 คน หลายจังหวัดมีการประกาศเคอร์ฟิวเพื่อควบคุมการแพร่ระบาด ขณะเดียวกันรัฐก็ใช้มาตรการที่เข้มข้นมากขึ้นด้วยการประกาศใช้ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ซึ่งเป็นอำนาจทางกฎหมาย
 

เจ็บแต่(ไม่)จบ ในวันที่เราต้อง ‘ต่อสู้’ กับ ‘โควิด19’

   ในสถานการณ์ที่โรคโควิด19 กำลังระบาดไปทั่วทุกมุมโลก รวมถึง “ประเทศไทย” ที่ขณะนี้ มีรายงาน ผู้ติดเชื้อ 200 กว่าคนแล้ว แม้รัฐบาลจะออกมาตรการต่างๆ เพื่อรับมือกับโรคโควิด19 ไม่ว่าจะเป็น มาตรการรับมือของสถานพยาบาลและโรงพยาบาล การเตรียมเวชภัณฑ์ เจล หน้ากากอนามัย การชี้แจงข้อมูลข่าวสาร การประสานงานกับต่างประเทศ มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโควิด19 โดยเลื่อนวันหยุดเทศกาลสงกรานต์ รวมถึงการปิดสถานที่ที่เป็นแหล่งรวมตัวกันชั่วคราว การให้พนักงานทำงานจากที่บ้าน การเยียวยาผู้ประกอบการ ฯลฯ แน่นอนว่า เหล่านี้ เป็นไปเพื่อการควบคุมและป้องกันโรคโควิด19 ขณะเดียวกันก็เป็นการประคับประคองเพื่อยืดระยะเวลาการเข้า

‘สู้ภัยโควิด19’ เปลี่ยนวิกฤตเป็น ‘ความยั่งยืนของชุมชน’

   ตัวเลขผู้ป่วยสะสมจากไวรัสโควิด19 ที่ทวีสูงขึ้นเรื่อยๆ...ยังไม่มีใครตอบได้ว่าการระบาดครั้งนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อใด
 
   แม้ว่ารัฐบาลจะออกมาตรการเข้มข้นขึ้นทุกขณะ แต่ผู้ป่วยก็ยังคงเพิ่มจำนวนขึ้น ไม่ใช่เฉพาะประเทศไทย แต่ในหลายประเทศทั่วโลก มาตรการใดๆ ก็ไม่อาจเกิดผลได้ หากคนในสังคมไม่เข้าใจ ไม่ตระหนัก และไม่ให้ความร่วมมืออย่างจริงจัง เช่นนี้แล้ว ประชาชน ‘ทุกคน’ จึงเป็นส่วนสำคัญที่สุด ที่จะทำให้มาตรการของรัฐสัมฤทธิ์ผล รวมถึงหนุนเสริมส่วนที่ตนเองทำได้เพื่อร่วมกันต่อสู้ภัยโควิด19